ไม่ได้มีแค่รถบรรทุก! “ส่วยสติ๊กเกอร์” ลามรถรับ-ส่ง นักเรียน
นอกจากส่วยรถบรรทุกแล้ว ล่าสุดเพจเฟซบุ๊ก Drama addict ได้ออกมาเปิดเผยข้อมูล ส่วยรถอีกประเภท คือ รถรับ-ส่งนักเรียน ที่จะมีลักษณะคล้ายกับส่วยรถบรรทุก โดยมีสติ๊กเกอร์เช่นเดียวกัน
โดยเพจเฟซบุ๊ก Drama addict ระบุว่า เพิ่มเติมข้อมูลจากที่วิโรจน์กำลังแฉเรื่องสติ๊กเกอร์ส่วยทางหลวง มีคนขับรถนักเรียนแจ้งมาว่า ไม่ใช่แค่รถบรรทุกบนทางหลวงที่โดน พวกเขาที่เป็นรถตู้รับส่งนักเรียนก็โดน (ไม่เกี่ยวกับทางหลวงหรือกรมขนส่ง)
คือ รถที่จะได้รับอนุญาตให้รับส่งนักเรียน ต้องตรวจสภาพกับกรมขนส่ง และมีการตรวจเช็คความปลอดภัยของทั้งตัวคนขับ และรถให้ได้มาตรฐาน เพื่อให้นักเรียนปลอดภัย ต้องมีถังดับเพลิง ค้อนทุบกระจก ต้องมีอุปกรณ์ช่วยเหลือ กรณีเกิดอุบัตเหตุในรถ บลาๆ อะไรประมาณนี้ และมีข้อจำกัด ว่า รถนักเรียนคันนึง ต้องมีนักเรียนบนรถไม่เกินกี่คน เพื่อไม่ให้รถแออัดกันไป มันจะอันตราย
ทีนี้คนที่ให้ข้อมูลเขาว่า รถนักเรียนส่วนใหญ่ก็ผิดกฎหมาย คือไม่ได้ขออนุญาตถูกต้องจากกรมการขนส่งทางบกอยู่แล้ว เวลาเปิดเทอม ก็จะมีคนเข้าไปเช็คแต่ละโรงเรียน ว่าที่นี่มีกี่คัน มีใบอนุญาตถูกต้องมั้ย ถ้าไม่มีหรือไม่ครบ ก็จะบอกว่า ช่วยดูแลนายเขาหน่อย เดือนละ 200 ถ้าโอเคจะได้สติ๊กเกอร์แบบในภาพข้างล่าง ขับรับส่งนักเรียน ไม่โดนโบก แต่ถ้าไม่มี ก็เจอโบกเช้าโบกเย็น และเปลี่ยนสติ๊กเกอร์กันเดือนต่อเดือน
ซึ่งตามกฏหมายนั้น รถนักเรียนที่เป็นรถตู้ อย่างมากนักเรียนนั่งได้ 13 คน แต่ส่วนมากยอมจ่าย เพื่อยัดนักเรียนเข้าไปให้ถึง 20 คน ก็เลยยอมจ่ายกันคำพูดจาก สล็อต เว็บ
เตรียมเปิดหลักฐานส่วยสติ๊กเกอร์ ล่าสุด ป.ป.ช.ขยับตรวจสอบแล้ว
“วิโรจน์” แฉเงินหมุนเวียน "ส่วยรถบรรทุก"หลักหมื่นล้าน
โดยรถรับส่งนักเรียนทุกคันต้องได้รับอนุญาต จาก กรมการขนส่งทางบก ต้องผ่านการรับรองจากโรงเรียนหรือสถานศึกษา และต้องขออนุญาตใช้รถให้ถูกต้อง นำรถเข้าตรวจสภาพ ณ สำนักงานขนส่งจังหวัดที่โรงเรียนหรือสถานศึกษาตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัยที่ทางราชการกำหนด ซึ่งจะได้รับอนุญาตครั้งละ 1 ภาคการศึกษาเท่านั้น ภายในรถต้องมีเครื่องมือ ที่จำเป็นสำหรับช่วยเหลือนักเรียนเมื่อมีอุบัติเหตุ เช่น ถังดับเพลิง ค้อนทุบกระจก ที่นั่งผู้โดยสารต้องยึดแน่นมั่นคงแข็งแรง และได้รับการอนุญาตให้ผู้โดยสารนั่งได้ตามกฎหมายกำหนด
ขณะที่คนขับต้องได้รับใบอนุญาตขับรถยนต์ส่วนบุคคลมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี หรือได้รับใบอนุญาตขับรถยนต์สาธารณะ หรือเป็นผู้ขับรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก และมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี หากฝ่าฝืนมีโทษตามกฎหมาย
ส่วนกรณีมีการเรียกรับผลประโยชน์ อย่าง กรณีสติ๊กเกอร์ส่วยรถรับ-ส่งนักเรียน เบื้องต้นทางกรมการขนส่งทางบก ยืนยันว่า ไม่มีเจ้าหน้าที่กรมการขนส่ง เรียกรับผลประโยชน์ในเรื่องนี้